วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การใช้ตัวอักษร

การใช้ตัวอักษร (Typography)
Typography : การใช้อักษรหรือการจัดวางตัวอักษร
Font ( Typefaces ) : ชุดรูปแบบของตัวอักษร
Font Families : ตระกลูของชุดแบบอักษร เช่น ตัวธรรมดา ตัวหนา ตัวเอียง
ส่วนประกอบ
1. แบบมีเชิง ( Serlf )
2. แบบไม่มีเชิง ( Sans Serif )
3. แบบแฟชั่น ( Novelty )
4. แบบลายมือ ( Script )
5. แบบตัว ๆ ( Monospace )
6. แบบสัญลักษณ์ ( Dingbat , Ornament )
ขนาดตัวอักษร
มีหน่วยเป็น Points แบบอักษรที่มีความแตกต่างกันที่ขนาด Points ที่ไม่เท่ากัน
ไม่จำเป็นต้องมีความสูงเท่ากันก็ได้ เช่น 72 Points เท่ากับ 1 นิ้ว
การจัดตำแหน่ง
1. แบบชิดขวา 2. แบบชิดซ้าย 3. แบบกระจายทั่ว 4. แบบตรงกลาง
การผสมตัวอักษร
- ตัวอักษรไม่มีขา ตัวหนา และตัวอักษรที่มีขา ตัวบาง ตัวอักษรทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกัน
ตรงที่ด้วนน้ำหนักและขนาดทำให้เกิดความโดดเด่นได้ง่าย
- ตัวอักษรมีขา ตัวหนา และตัวอักษรไม่มีขา ตัวบาง การผสมอักษรแบบนี้ทำให้เกิดจุดเด่นของสัญลักษณ์อักษรได้ง่าย

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คุณคิดว่าสื่อมัลติมีเดียอะไรที่มีอิทธิพลต่อตัวคุณมากที่สุด




สื่อมัลติมีเดียที่มีอิทธิพลต่อตัวผมมากที่สุด คือ สื่อมัลติมีเดีย youtube
เป็นสื่อมัลติมิเดียเป็นคลิปมิวสิค VDO เพลงมากมาย
youtobe เป็นเวปที่รวบร่วมคลิป VDO จากคนทั่วโลก มีทั้งสาระความรู้
และความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ คลิป VDO ที่มีอิทธิพลกับตัวผมมากที่สุดคือ
คลิป VDO มิวสิคเพลงของวง ARMCHAIR เป็นวงที่ฟังแ้ล้วรู้สึกสบายๆ
ผ่อนคลาย ช่วยให้คลายเครียดได้

สำหรับสื่อมัลติมีเดีย Youtube มันก็ยังมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัว
ของมันเองการเลือกชมคลิป VDO ใน Youtube มันต้องขึ้นอยู่กับคนว่าจะ
เลือกชมไปในแนวทางไหน

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

หลักการใช้สีสำหรับการออกแบบ web

3.2 การใช้สีพื้นหลัง มีทั้งแบบเป็นภาพ สีพื้น หรือเป็นลวดลาย
3.3 โทนสีโดยรวม โทนร้อนและโทนเย็น
3.4 สีกับหมวด ถ้าเป็นหน้าเวปไซด์ที่เกี่ยวกับข่าวสารสาระ ควรจะใช้สีในโทนที่เข้มๆ เพื่อให้ดูแบบน่าเชื่อถือ ตรงข้ามกับข่าวบันเทิง ทีจะใช้สีทีสดใส

ลักษณะของเมนู

หน้าเว็บแนวนอน

- ตัวอักษร
- ไอคอน

หน้าเว็บแนวตั้ง

- ตัวอักษร
- ไอคอน
- Dropdown
- รูปไอคอน
- ภาพนิ่ง
- ภาพเคลื่อนไหว
- Roll-Over


การจัดวางตำแหน่งของโลโก้ , เนื้อหา , ภาพ

หน้าเว็บแนวนอน

ส่วนหัว
- ชื่อเว็บ
- Logo หน้าเว็บ
- แถบ Login
- โฆษณา
- ปุ่มไอคอนต่าง ๆ
- แถบค้นหาข้อมูล
ส่วนเนื้อหา
- ข้อมูลต่าง ๆ
- รูปภาพ
- ข่าวสารต่าง ๆ
- ไอคอนข้อมูลต่าง ๆ
ส่วนท้าย
- ข้อมูลเพิ่มเติม
- ความคิดเห็น
- เว็บลิงค์ต่าง ๆ
- โฆษณา


ตำแหน่งของเมนู

หน้าเว็บแนวนอน

- แถบเมนู อยู่ ตรงกลางทางซ้ายของหน้าเว็บ

หน้าเว็บแนวตั้ง

- แถบเมนู อยู่ ส่วนบนของหน้าเว็บ
ส่วนตรงกลางทางซ้ายของหน้าเว็บ
ทางซ้ายของหน้าเว็บ
ส่วนท้ายของหน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ลักษณะโครงสร้างเวปไซด์

ลักษณะโครงสร้างหน้าเวปไซด์

โครงสร้างหน้าเว็ปแบบแนวตั้ง

โครงสร้า่งหน้าเว็ปลักษณะนี้นิยมใช้มากที่สุด โดยจะีมีรูปแบบ
ในการนำเสนอข้อมูลในแนวตั้ง ทำให้ง่ายต่อการปรับปรุงและแก้ไข
ส่วนมากจะมีระบบเนวิเกชั่นอยู่ข้างบน หรือ ด้านข้าง เมื่อต้องการดูเนื้อ
หาเว็ปที่มีความยาวมากๆ ก็จะแสดงสโึครลบาร์ทางด้านขวาของหน้าต่าง
บราวเซอร์ในแนวตั้ง





โครงสร้างหน้าเวปแบบสมดุล ขนาด 800*600

จะมีการจัดเนื้อหาพื้นที่พอดีโดยไม่ต้องมีสโครลบาร์ ซึ่งเหมาะกับเว็ป
ที่มีข้อมูลไม่มากนัก สามารถมองเห็นทุกส่วนของหน้าเว็ปได้ทั้งหมด




โครงสร้างหน้าเวปแบบแนวนอน

โครงสร้างหน้าเว็บในแนวนอนค่อนข้างมีปัญหามากกว่าการใช้หน้าเว็บแบบแนวตั้ง เนื่องจาก
โครงสร้างในลักษณะนี้จะเพิ่มเนื้อหาออกไปทางด้านกว้างของหน้าเว็บ ซึ่งอาจสร้างปัญหาเนื่องจากความ
กว้างของหน้าจอจะมีความแตกต่างไม่แน่นอนจากความละเอียดของมอนิเตอร์ที่ต่างกัน ผู้ใช้อาจเกิดความ
ลำบากที่มีผลจากการอ่านของความจำนวนมากในลักษณะต้องเลื่อนสโครลบาร์ไปด้านข้าง


วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

องค์ประกอบสี

สีเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการออกแบบ สีมีอิทธิพลในเรื่องของอารมณ์การสื่อความหมาย
ที่เด่นชัด และกระตุ้นต่อการรับรู้ของคนเราได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เรื่องของสียังเป็นเรื่องสำคัญใน
การออกแบบ เพื่อความสวยงาม สื่อความหมาย งานบางชิ้นที่ออกแบบมาดี แต่ถ้าใช้สีไม่เป็น อาจทำให้
งานทั้งหมดที่ทำมาพังได้ง่าย ๆ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้จักสี และเลือกใช้สีให้เป็น

ก่อนอื่นเรามารู้จักองค์ประกอบของสีกันก่อน
องค์ประกอบของสีในงานออกแบบนั้น มีคุณสมบัติอยู่ 3 ประการคือ
1. สี,เนี้อสี (Hue)
2. น้ำหนักสี (Value / Brightness)
3. ความสดของสี (Intensity / Saturation)


สี, เนื้อสี, ตัวสี Hue


เนื้อสี หรือ Hue คือความแตกต่างของสีบริสุทธิ์แต่ละสี ซึ่งเราจะเรียกเป็นชื่อสี เช่น สีแดง
สีน้ำตาล สีม่วง เป็นต้น โดยแบ่งเนื้อสีออกเป็น 2 ชนิด

1. สีของแสง (Coloured Light)
สีของแสง คือความแตกต่างสั้นยาวของคลื่นแสงที่เรามองเห็น เริ่มจากสีม่วงไปสีแดง
(เหมือนรุ่งกินน้ำที่เรามองเห็นหลังฝนตก)

2. สีของสาร (Coloured Pigment)
สีของสาร คือสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการดูดซืมและสะท้อนของความ
ยาวคลื่นแสง



น้ำหนักสี Value

น้ำสีก็คือเรื่องของความสว่างของสี หรือการเพิ่มขาว เติมดำลงในเนื้อสีที่เรามีอยู่
และการปรับเปลี่ยนน้ำหนักสีนี่เองที่ทำให้ภาพดูมีมิติ ดูมีความลึก หรือที่เราเรียกวันว่า โทน Tone ซึ่ง
บางครั้งสร้างความน่าสนใจ ดึงดูดและความสมจริงให้กับงานที่เราออกแบบได้





ความสดของสี Intensity / Saturation

ความสดของสีหรือบางคนอาจเรียกว่า ความอิ่มตัวของสี เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งใน
การออกแบบ การใช้สีบางครั้งเราอาจจะต้องลดหรือเพิ่ม ความสดของสีใดสีหนึ่ง หรือ ทั้ง 2 สี
เลยก็ได้
ในกรณีลดความสดของสีก็เพื่อไม่ให้ภาพงานที่ออกมานั้นดูฉูดฉาดจนเกินไป ลดความ
สดของสีจะเรียกอีกอย่างว่า เป็นการเบรกสีก็ได้ ในการเบรกสีของงานศิลปะ ศิลปินมักจะใช้สี
น้ำตาลซีเปียมาเติมลงในสีที่เขาต้องการเพื่อให้สีที่ได้ออกมามีเนื้อสีเดิมแต่ดูหม่นลง




หลักการเลือกสี

1.Monochrome

Monochrome หรือโครงสีเอกรงค์ คือมีเนื้อสี Hue เดียว แต่ให้ความแตกต่างด้วยน้ำหนักสี
Value สีเอกรงค์นี้ ให้อารมณ์ ความรู้สึก สุขุม เรียบร้อยเป็นสากล ไม่ฉูดฉาดสะดุดตา และในด้าน
การออกแบบเป็นการใช้คู่สีที่ง่ายที่สุด แล้วออกมาดูดี เลือกแค่สีเดียวแล้วนำมาผสมขาว ผสมดำ หรือ
ปรับค่าความสว่าง Brightmess เพื่อเปลี่ยนน้ำหนักสี Analogus




2.Triads

Triads หรือโครงสี 3 สี คือ
1. เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 เท่ากัน ถ้าเราลากเส้นระหว่างสีทั้ง 3 สี
เราจะได้สามเหลี่ยมด้านเท่า
2. เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 ไม่เท่ากันคือมีช่วงห่าง 2 ช่วงเท่ากัน แต่
กับอีกอันหนึ่งช่วงห่างจะยาวกว่า ถ้าลากเส้นระหว่างสีแล้วจะได้สามเหลี่ยมหน้าจั่ว







3.Analogus

Analogus หรือโครงสีข้างเคียง คือสีที่อยู่ติดกัน อยู่ข้างเคียงกัน ในวงจรสี จะเป็น
ที่ละ 2 หรือ 3 หรือ 4 สีก็ได้ แต่ไม่ควรมากกว่านี้เพราสีอาจจะหลุดจากความข้างเคียง หรือ
หลุดออกจากโครงสีนี้ได้




4. Complementary Colors

หมายถึง สีสองสีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงจรสี ให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มี 6 คู่คือ
1. เหลือง (Yellow) กับ ม่วง(Violet)
2. แดง (Red) กับ เขียว(Green)
3. น้ำเงิน (Blue) กับ ส้ม(Orange)
4. ส้มเหลือง(Yellow-Orange) กับ ม่วงน้ำเงิน (Blue-Green)
5. ส้มแดง (Red-Orange) กับ เขียวน้ำเงิน (Blue-Green)
6. เขียวเหลือง (Yellow-Green) กับ ม่วงแดง (Red-Violet)




5. Split Complementary

หมายถึงการใช้สีหนึ่งกับสี สองสีที่อยู่ข้างสีคู่ตรงข้ามกันสองสี (โดยไม่ใช้สีคู่ตรงข้าม
ของ สีนั้น) เป็นการใช้สีที่ลดการ ตัดกันหรือลดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
สีเหลือง ใช้กับ สีม่วงแดง - สีม่วงน้ำเงิน (ไม่ใช้สีม่วง)
สีแดง ใช้กับ สีเขียวเหลือง - สีเขียวน้ำเงิน (ไม่ใช่สีเขียว)
สีน้ำเงิน ใช้กับ สีส้มแดง - สีส้มเหลือง (ไม่ใช้สีส้ม)



วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

CAI




วีระพันธ์ ขันธ์บุตร
ชอบ เล่นบอล เล่นบาส วาดรูป


ชื่อโครงการ CAI อนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า
ข้อมูลเบื้องต้นลักษณะของโครงการ

นำข้อมูล text เกี่ยวกับการอนุรักษ์ไฟฟ้าจากเครื่องไฟฟ้า ภายในครอบครัว 3 ชนิด ได้แก่ ตู้เย็น,เครื่องปรับอากาศ,หลอดไฟ มาทำเป็น animation
ปัญหา
ถ้าทำเป็น text อย่างเดียวจะไม่ค่อยน่าสนใจ
กลุ่มเป้าหมาย
กายภาพ ทุกเพศ ครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง
จินตภาพ ต้องการประหยัดไฟ ช่วยโลกร้อน
แนวความคิด
3 พี่น้องลดโลกร้อน
รูปแบบการนำเสนอ
ทำเป็น CD ลงคอมพิวเตอร์
จำนวนปริมาณ
ไฟล์งานจากโปรแกรม flash
ภาพสื่ออารมณ์และความรู้สึก
สบายๆ
head034.jpg

เรียบง่าย
pandan_valley_5.jpg


ภาพสามเหลี่ยมวิเคราะห์หลักการออกแบบ




Untitled-1.jpg